วิสัยทัศน์-พันธกิจ
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลตาเกานั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาเทศบาลตำบลตาเกา จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลตาเกายังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
เทศบาลตำบลตาเกา กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537( แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง เพื่อแสดงถานการณ์ในอุดมคติ
“สร้างนวัตกรรมนำวิถี สามัคคีและพอเพียง รับฟังเสียงประชาชน สนับสนุนคนร่วมทำดี”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- พัฒนาด้านการคมนาคม
- ส่งเสริมและพัฒนาการประกอบอาชีพของประชาชน
- ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนและสังคม
- ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนให้มีความสวยงาม ความสุข และเป็นเมืองที่น่าอยู่
- ดำเนินการพัฒนาโดยการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายในระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด
- ดำเนินงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนในการจัดระบบบริการสาธารณะ
เป้าประสงค์ (goal)
- การคมนาคมของประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
- ประชาชนมีอาชีพและรายได้เพิ่มขึ้น
- ประชาชนมีสุขภาพอนามัย สมบูรณ์แข็งแรง
- ประชาชนมีแหล่งเพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรอย่างเพียงพอ
- วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการสืบสาน
- ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ประชาชนมีความรู้และส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย
- ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟู
- ระบบการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่มีประสิทธิภาพ